มะเร็งมีกี่ระยะ ? มะเร็งรู้ทัน ป้องกันได้ เตรียมตัวรับมือก่อนที่จะสายไป
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “มะเร็ง (Cancer)” คือโรคร้ายที่เราต่างก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและคนที่เรารัก ถึงแม้ในปัจจุบันมะเร็งหลายชนิดจะสามารถรักษาให้หายขาดได้หากตรวจพบในระยะแรก ๆ แต่ถ้าหากปล่อยไว้จนลุกลามและก้อนเนื้อร้ายแพร่ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายโอกาสที่จะหายขาดก็ลดลง อีกทั้งผู้ป่วยยังต้องพบกับความเจ็บปวดทั้งจากอาการของโรคและการรักษาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองครับที่ทำให้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คิดค้นการแบ่ง “ระยะของโรคมะเร็ง” ขึ้นมา แล้ว มะเร็งมีกี่ระยะ เรามาหาคำตอบไปพร้อมกับ Boostuplifecenter กัน
ระยะของโรคมะเร็ง (Stage of Cancer) คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร
ระยะของโรคมะเร็ง หรือ Stage of Cancer คือตัวช่วยบอกความรุนแรงและการลุกลามของโรคมะเร็ง เพื่อให้แพทย์ที่ทราบระยะของโรคสามารถพยากรณ์โรคและวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับระยะรวมถึงร่างกายของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังเพื่อให้แพทย์สามารถนำอาการของผู้ป่วยในระยะต่าง ๆ ไปเทียบเคียงกับผลการวิจัยที่ทำกับคนไข้ในระยะเดียวกัน เพื่อวิเคราะห์และวิจัยให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรครวมถึงเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการแบ่งระยะนั้นทำได้โดยใช้วิธีการตรวจร่างกาย การเอ็กซเรย์ ผลเลือด ผลชิ้นเนื้อ ไปจนถึงลักษณะของก้อนเนื้อที่พบจากการผ่าตัดมาเป็นตัวกำหนด
ส่วนใหญ่แล้วระยะของมะเร็งที่ได้รับการนำไปใช้อย่างแพร่หลายนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ระยะ คือ ระยะที่ 0 ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ระยะที่ 4 อีกทั้งยังอาจแบ่งเป็นระยะย่อยๆ ลงไปอีก เช่น เอ (A) บี (B) หรือ ซี (C) เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินอาการและการรักษาได้แม่นยำขึ้น
มะเร็งมีกี่ระยะ ?
ระยะที่ศูนย์ (0) : ในระยะนี้ยังไม่ถือว่าเป็นโรคมะเร็งที่แท้จริงแต่อาจมีอาการผิดปกติของเซลล์ในระยะแรกเริ่ม เป็นเพียงเซลล์มะเร็งที่ไม่มีการรุกราน (Invasive) ไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง
ระยะที่หนึ่ง (1) : ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยังไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง มีโอกาสรักษาหาย 70-90%
ระยะที่สอง (2) : ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มเกิดภาวะลุกลามภายในเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง มีโอกาสรักษาหาย 70-80% ถ้าเราทำการศึกษาว่า มะเร็งมีกี่ระยะ จะทำให้มีโอกาสในการรักษาอย่างทันท่วงที
ระยะที่สาม (3) : ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มเกิดภาวะลุกลามไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียง รวมถึงลุกลามเข้าสู่ระบบต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อและอวัยวะที่เป็นมะเร็งอีกด้วย มีโอกาสรักษาหาย 20-60%
ระยะที่สี่ (4) : ก้อนเนื้อหรือแผลมะเร็งมีขนาดโตมาก เกิดการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงจนกระทั่งมีอาการทะลุหรือแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองโตจนคลำพบได้ และยังเข้าสู่ช่วงที่เซลล์มะเร็งแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก หรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้า เป็นต้น มีโอกาสรักษาหาย 0-15%
การจะรักษาโรคมะเร็งให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น คือการรักษาตั้งแต่ตรวจพบในระยะแรก ๆ แต่การที่เราทราบว่าระยะของมะเร็งนั้น ก็ช่วยให้เราเข้าใจในระยะของโรคได้ ดังนั้น เราจึงควรหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ และจะได้ทำการรักษาหรือปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามคำแนะนำจากแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติของร่างกายครับ
No responses yet