HIV คิดว่าเสี่ยง ทำอย่างไรดี?
HIV คิดว่าเสี่ยง ทำอย่างไรดี?

HIV คิดว่าเสี่ยง ทำอย่างไรดี?

HIV คือ

เชื้อ Human Immunodeficiency Virus หรือ ” HIV ” เป็นเชื้อไวรัสที่เข้าไปทำลายเซลล์ที่ช่วยให้ร่างกายของเราต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เรามีความเสี่ยงในการติดเชื้อและเป็นโรคได้ง่ายและการติดเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หรืออาจผ่านจากการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ หากไม่รักษาโรคเอชไอวี จะสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเอดส์ได้ (AIDS/Acquired Immune Deficiency Syndrome)
        อย่างไรก็ตามร่างกายของเราก็มีการสร้างภูมิต่อต้านกับเชื้อไวรัสแต่ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้หมด เชื้อยังคงอยู่ในเม็ดเลือดและมีการแพร่กระจายไปทำลายเม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในการควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

HIV สาเหตุ

คนติดเชื้อเอชไอวี จะส่งผ่านเชื้อได้ในทางของเหลวในร่างกาย

  • เลือด
  • น้ำอสุจิ
  • สารคัดหลั่งในช่องคลอด
  • ของเหลวทางทวารหนัก
  • น้ำนม

โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือช่องคลอดกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีแบบไม่มีการป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัย รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี เข็มฉีดยาหรืออุปกรณ์สำหรับการเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ฮอร์โมนและสเตียรอยด์

HIV สาเหตุ

สำหรับผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีและกำลังมีการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่ เชื้ออาจแพร่ไปสู่บุตรได้ รวมไปถึงบุคคลที่ต้องได้รับการถ่ายโอนเลือดก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้แต่มีโอกาสน้อย

HIV อาการ

ในระยะแรกเริ่มบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ ทำให้ผู้ติดเชื้อใหม่จะไม่รู้ตัว หรือบางคนอาจจะมีอาการน้อยมาก ส่วนใหญ่การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ทำให้อาการของเอชไอวีรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามอาการบางอย่างก็เป็นเหมือนอาการโรคทั่วไป ซึ่งไม่ได้บ่งบอกอย่างแน่ชัดว่าเป็นโรคเอชไอวี แต่ถ้าเรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะช่วยในการป้องกันไม่ให้เราติดเชื้อเอชไอวีได้

อาการแรกเริ่มของการติดเชื้อ HIV

ใน 2 – 3 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อเอชไอวี เรียกว่า “ระยะติดเชื้อฉับพลัน” ในระยะนี้ไวรัสจะมีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แต่ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะสร้างแอนติบอดี้เพื่อมาต่อสู้กับไวรัสแอชไอวี โดยอาการเริ่มแรกของการติดเชื้อเอชไอวี บางคนที่ติดเชื้อเอชไอวี จะไม่แสดงอาการจนกว่าจะเป็นเดือนหรือเป็นปีหลังจากติดเชื้อไวรัสแล้ว อย่างไรก็ตามประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 2–6 สัปดาห์หลังจากที่ไวรัสเข้าสู่ร่างกาย โดยจะมีอาการดังนี้

อาการของโรค HIV
  • เป็นไข้ ปวดหัว หนาว
  • อาการปวดตามข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอ
  • เหงื่อออก โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • ผื่นแดง
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อ่อนแอ
  • น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • เชื้อราที่ปาก

อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเรากำลังต่อสู้กับไวรัสหลายชนิด เนื่องจากอาการเหล่านี้คล้ายกับโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัดใหญ่ คนที่มีอาการเหล่านี้อาจไม่คิดว่าต้องพบแพทย์ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ ในช่วงเวลานี้ปริมาณไวรัส (เชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด) ของพวกเขาจะสูงมาก เมื่อมีเชื้อเอชไอวีมากทำให้สามารถติดต่อกับคนอื่นได้ง่าย

HIV ที่ไม่มีอาการ ไม่แสดงอาการ

ในหลายกรณีหลังจากการติดเชื้อฉับพลันอาการอาจไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี ระหว่างนี้ไวรัสยังคงพัฒนาและทำลายระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงอวัยวะของเราแต่เพียงไม่มีอาการออกมาที่ชัดเจน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัวคล้ายจะเป็นไข้ตลอดเวลา

อาการ HIV ระยะสุดท้าย (เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์)

อาการของโรค HIV

ถ้าหากเราไม่ใช้ยาเอชไอวีจะทำให้ภูมิต้านทานของเราอ่อนแอลงในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส อาจทำให้เราเจ็บป่วยขั้นรุนแรง รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ หรืออาจไปสู่ระยะที่เรียกว่า “เอดส์” ได้ อาการของการติดเชื้อเอชไอวี ในระยะสุดท้าย อาจมีอาการดังนี้

  • มองเห็นภาพซ้อน
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายบ่อย
  • มีอาการไอแห้ง ๆ
  • มีไข้สูงนานหลายสัปดาห์
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • หายใจถี่ หายใจลำบาก
  • ต่อมน้ำเหลืองบวมนานหลายสัปดาห์
  • น้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • เป็นจุดสีขาวบนลิ้น หรือปาก (เชื้อรา)
อาการของโรค HIV

เมื่อเราอยู่ในระยะของงการเป็นเอดส์ (เอชไอวีระยะสุดท้าย) นั้น  ความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนหรือที่เรียกว่า “โรคฉวยโอกาส” จะเพิ่มมากขึ้น เพราะเนื่องจากการเป็นภูมิคุ้มกันของเราจะอ่อนแอลงอย่างมาก ทำให้ไม่มีสิ่งที่จะไปต้านทานกับเชื้อไวรัส และเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้ามาในร่างกายของเรา ทำให้เกิดการติดเชื้อจนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย

การรักษา HIV

ตอนนี้ยังไม่มีการรักษาโรคเอชไอวีหรือเอดส์ที่หายขาดได้ แต่มีการรักษาที่จะช่วยให้ไวรัสไม่แพร่กระจายและไม่ให้แพร่กระจายไปสู่คนอื่น ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันกับคนอื่นได้ รวมไปถึงจะช่วยทำให้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้น การรักษาแบบ ART (Antiretroviral Therapy) ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ ของการติดเชื้อเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะจะช่วยให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นและยังยับยั้งการแพร่เชื้อได้ ซึ่งการรักษาแบบนี้เป็นสิ่งที่ได้การยอมรับ ว่ามีประสิทธิภาพมาก โดยทำให้ปริมาณไวรัสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ไม่สามารถตรวจพบได้ในการตรวจเลือด ในปริมาณไวรัสที่น้อยขนาดนี้ทำให้การแพร่เชื้อทางเพศสัมพันธ์กลายเป็น 0 หรือไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังคู่นอนได้ แพทย์เรียกสิ่งนี้ว่า Undetectable = Untransmittable (U=U)

ป้องกัน HIV

ยาเอชไอวีฉุกเฉิน (PEP)

ถ้าคุณคิดว่าคุณอาจจะเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเอชไอวี ภายใน 3 วัน หลังจากสัมผัสกับเชื้อ สามารถรับยาต้านเชื้อเอชไอวี ที่เรียกว่า PEP (Post Exposure Prophylaxis) เป็นยาที่ต้องรับให้ไวที่สุดหลังจากการสัมผัสกับเชื้อ โดยทานยาติดต่อกันนาน 28 วัน อาจจะช่วยให้หยุดการติดเชื้อได้ หรือป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้

ยาต้านไวรัส (Antiretroviral Drugs)

ปัจจุบันมียาที่ได้รับการรับรองมากกว่า 25 ชนิด ที่ใช้ในการรักษาอาการการติดเชื้อเอชไอวี ที่จะทำการยับยั้งและชะลอการแบ่งตัวของเชื้อหรือการแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นที่ใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้  

HIV คิดว่าเสี่ยง ทำอย่างไรดี?

โดยยาต้านไวรัสสามารถแบ่งได้เป็น 6 ชนิดดังนี้

  • Protease inhibitors : ยายับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส สามารถกดการแบ่งตัวของไวรัสได้
  • Integrase inhibitors : ยายับยั้งเอนไซม์อินทีเกรสที่ทำหน้าที่ส่งสารพันธุกรรม ทำให้ DNA ของไวรัสไม่ไปรวมตัวกับ DNA ของคน
  • Reverse transcriptase inhibitors : ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส ยากลุ่มนี้แบ่งย่อยเป็นกลุ่ม
    – Nucleoside/Nucleotide reverse transcriptase inhibitors (NRTIs) : ยับยั้งขบวนการคัดลอก RNA ไปเป็น DNA ของไวรัส ยายับยั้งเอนไซม์ RT ชนิดนิวคลีโอไซด์
    – Non-nucleoside reverse transcriptase inhibitors (NNRTIs) : ยับยั้งการติดเชื้อเอชไอวี ยายับยั้งเอนไซม์ RT ชนิดไม่ใช่นิวคลีโอไซด์
  • Chemokine co-receptor antagonists : ยาป้องกันเชื้อเอชไอวีเข้าไปสู่เซลล์
  • Entry inhibitors : ยับยั้งไม่ให้เชื้อเอชไอวีเข้าไปทำลาย T-Cell

การรักษาทางเลือกอื่น ๆ

แม้ว่าผู้คนส่วนมากที่มีเชื้อเอชไอวีจะลองใช้ตัวเลือกในการรักษาอื่น ๆ เช่น การรักษาด้วยการใช้สมุนไพร แต่ยังไม่มีการรองรับว่าการรักษาด้วยสมุนไพรจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวี แต่เรามีการรักษาทางเลือกใหม่ เป็นการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส คือ “การเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง” ด้วย นวัตกรรมใหม่ล่าสุด สารสกัดจากธรรมชาติจาก เบต้ากลูแคนและเฮสเพอริดิน เป็นการรวมเอาของสุดยอดสารสกัด ที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และรวมไปถึงการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา รวมไปถึงเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย อ่านรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมคลิ๊ก…

ผลิตภัณฑ์เบต้าซีไอ สารสกัดจากธรรมชาติ
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
แฟนเพจ Facebook

Categories:

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *