01_การรักษามะเร็งปากมดลูก
01_การรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษามะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี และทำได้อย่างไรบ้าง ?

ตามสถิติแล้วโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เป็นโรคที่พบในหญิงไทยสูงถึงอันดับ 4 ของประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนั้นเราสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันเชื้อ HPV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้อีกด้วย แต่ถ้าหากเราเข้ารับการตรวจ และพบว่าเกิดโรคร้ายชนิดนี้ขึ้นกับเราล่ะ จะทำอย่างไรดี? วันนี้ Boostuplifecenter จะมาทำความรู้จักกับ การรักษามะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธีการต่าง ๆ กันครับ ก่อนสิ่งอื่นใด เรามาทำความรู้จักกับ มะเร็งปากมดลูก กันก่อนดีกว่านะครับ

โรคมะเร็งปากมดลูก คืออะไร ?

มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก ซึ่งมากกว่า 99% พบว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการก่อมะเร็งปากมดลูก โดยอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้ มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีตกขาว มีกลิ่น และมีเลือดปน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดท้องน้อย และอาจปวดกระดูกตามบริเวณอื่น ๆ เป็นต้น

การรักษามะเร็งปากมดลูก

การรักษามะเร็งปากมดลูก มีกี่วิธี ?

ในปัจจุบันการรักษาที่นิยมใช้รักษาผู้ป่วยนั้น จะมีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน ดังนี้

1. การผ่าตัด

การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด แพทย์จำการเลือกให้เหมาะสมกับระยะ และการลุกลามของเซลล์มะเร็งในผู้ป่วย คือ

การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง หรือ Radical Trachelectomy

จะทำการตัดเนื้อเยื่อปากมดลูก และเนื้อเยื่ออื่น ๆ บริเวณใกล้เคียงที่อยู่เหนือช่องคลอดขึ้นไปโดยไม่ต้องตัดมดลูก วิธีนี้จะใช้รักษาสำหรับผู้ป่วยในระยะแรกเริ่มที่เซลล์มะเร็งยังไม่แพร่กระจายมากนัก และที่สำคัญผู้ป่วยจะยังมีบุตรได้เหมือนเดิม

การตัดมดลูกและปากมดลูก หรือ Hysterectomy

วิธีนี้จะเป็นการผ่าตัดเพื่อนำมดลูก และปากมดลูกออกไป หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงรังไข่ออกไปด้วย ผลข้างเคียงของการผ่าตัดประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของมะเร็งที่แพร่กระจายอยู่ครับ ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบ คือการเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนกำหนด

การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ภายในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง หรือ Pelvic Exenteration

สำหรับวิธีนี้ จะใช้รักษาในผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งลุกลาม หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ

2. รังสีรักษา (Radiotherapy)

การรักษาโดยการฉายรังสี (Radiotherapy) วิธีนี้จะใช้รังสีฉายในบริเวณที่เป็นมะเร็ง เพื่อช่วยควบคุมภาวะเลือดออก และความเจ็บปวด สามารถใช้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่น ๆ ได้ มี 2 ประเภท คือ การฉายรังสีภายนอกซึ่งก็คือ การฉายรังสีพลังงานสูงไปยังอุ้งเชิงกราน เพื่อกำจัดเซลล์เนื้อร้าย และการฉายรังสีภายใน เป็นการสอดโลหะกัมมันตภาพรังสีไปวางไว้ในช่องคลอด บริเวณที่มีเซลล์มะเร็ง

การฉายรังสีต้องทำซ้ำ ๆ เพื่อประสิทธิภาพที่ดี แต่ก็จะมีผลข้างเคียงตามมา ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากเนื้อเยื่อปกติรอบ ๆ บริเวณที่ฉายรังสีถูกทำลายไปด้วยก็คือ ผู้ป่วยอาจผิวไหม้ หรือผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีคล้ำขึ้น ผมร่วง อ่อนเพลียง่าย ท้องร่วง มีเลือดออกในช่องคลอด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นต้น แต่หากอวัยวะเหล่านี้ไม่ถูกทำลายอย่างถาวร เมื่อจบขั้นตอนการรักษาอาการก็จะทุเลาลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติครับ

การรักษามะเร็งปากมดลูก

3. เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การรักษาโดยใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็น การรักษามะเร็งปากมดลูก อีกวิธีหนึ่ง รักษาโดยการใช้ยาเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และป้องกันการลุกลามของเนื้อร้าย โดยการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้น มีทั้งแบบยารับประทาน และยาฉีด สามารถรักษาโดยการใช้ร่วมกันหลายชนิดได้ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย

โดยการรักษาด้วยวิธีนี้ อาจมีผลข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง อ่อนล้า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผมร่วง เจ็บปากเจ็บคอ ชาปลายมือปลายเท้า มีภาวะซีด หรือเกิดการติดเชื้อ และอาการอื่น ๆ ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละคน อาการผลข้างเคียงก็จะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะเป็นมาก บางคนอาจจะเป็นน้อย แต่ก็จะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติหลังหยุดทานยา หรือผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่เป็นเลยก็ได้

4. ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)

อีกหนึ่งการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่เรียกว่า การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) นั้น คือการรักษาโดยอาศัยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เมื่อพบว่าในร่างกายมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ ร่างกายจะทำการตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ออกจากร่างกาย

และนี่ก็คือวิธี การรักษามะเร็งปากมดลูก ในปัจจุบัน ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าถึงจะมีผลข้างเคียงแต่ก็สามารถรักษาโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของตัวผู้ป่วยเองก็ต้องเตรียมตัวรับมือกับผลข้างเคียงจากการรักษาต่าง ๆ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้การรักษานั้นเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และหลังผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจนร่างกายกลับมาเป็นปกติแล้ว

ต้องหมั่นเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำด้วย เนื่องจากผู้ป่วยที่เคยมีประวัติในการเป็นมะเร็ง มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่มะเร็งจะเกิดขึ้นได้อีก Boostuplifecenter ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ป่วยที่กำลังทำการรักษานะครับ

ผลิตภัณฑ์เบต้าซีไอ สารสกัดจากธรรมชาติ
การรักษามะเร็งปากมดลูก-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
แฟนเพจ Facebook

Categories:

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *