ค้นพบวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ด้วย Beta-Glucan
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2019 ที่ผ่านมา คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ ได้ค้นพบว่า Beta-Glucan พันธะ 1,3/1,6D ที่สกัดได้จากยีสต์ขนมปัง มีความสามารถในการกระตุ้นต่อมน้ำเหลือง และไขกระดูก รวมทั้งต่อมไทมัสในการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เช่น Th1, Th17, CD4+, CD8+ T-Cell และNK Cell โดยผ่านตัวรับสัญญาณ Dendritic Cell (DCs) และ Receptor-3 (CR3) อีกทั้งยังช่วยลดผลข้างเคียงในการรักษามะเร็ง โดยใช้เคมีบำบัดหรือการฉายแสงได้อย่างเห็นผล และยังมีประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นเมื่อใช้ควบคู่กันในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
หลังจากกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด Innate และ Adaptive Cell จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อม ที่ทำให้มะเร็งไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ทำหน้าที่ปรับการรับรู้และทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลล์มะเร็งในร่างกายด้วยตัวของเขาเอง โดยเฉพาะเบต้ากลูแคนนั้น สามารถกระตุ้นเม็ดเลือดขาวที่ชื่อว่า T-cell และ Cytotoxic T-cell ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายเซลล์มะเร็งได้อย่างเห็นผล
อีกทั้งยังเสริมประสิทธิภาพในการปรับและการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวในกลุ่ม Neutrophil ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะสมดุล Th1 ซึ่งเป็นสภาวะการทำงานที่เป็นปกติของร่างกายมนุษย์
อีกทั้งยังกระตุ้นการทำงานของ B-cell ในการผลิต TNFa, IL-6 และ IL-8 ผ่าน Dectin-1 ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการทั้งหมดที่กล่าวในเบื้องต้นเรียกว่า การปรับให้ภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ หากภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานเป็นปกติแล้ว ร่างกายก็จะสามารถกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอม รวมทั้งเซลล์ผิดปกติได้ด้วยตัวของเขาเองได้
กลไกการออกฤทธิ์ของ Beta-Glucan
ปัจจุบัน ได้มีการนำเบต้ากลูแคนมาสกัดเป็นวัคซีน ออกฤทธิ์โดยการ Re-programing และ Trained immune system ใช้ในการทดลองในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งในคลีนิคซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษามะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม ในการรักษาแบบนี้ทำให้เกิดการรักษาแบบใหม่ที่เรียกว่า การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด
ในการทดสอบกลุ่มตัวอย่าง การใช้เบต้ากลูแคนร่วมกับการรักษามะเร็งโดยใช้เคมีบำบัดและการฉายแสง พบว่า 64.2% ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตยืนยาวมากขึ้นถึง 1 ปี และยังพบว่าสามารถลดผลข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัดและฉายแสง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
แหล่งที่มา :
คณะแพทย์ศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยา มหาวิทยาลัยหลุยส์วิลล์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6695648/
No responses yet