มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้ายของผู้หญิง รู้ทันรักษาได้

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงและมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง และยังมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี แต่ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าในการตรวจคัดกรองและมีพัฒนาในการรักษามะเร็งเต้านมอย่างมาก ทำให้สามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้น ตั้งแต่ในปี 1989 ตามรายงานของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (ACS) พบว่ามีผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม มากกว่า 3.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา โอกาสของผู้เสียชีวิตมีเพียงแค่ 1 ใน 38 (2.6%)

เพราะฉะนั้นแนะนำว่าผู้หญิงควรที่จะไปตรวจคัดกรองและสังเกตอาการของตนเอง เพื่อที่เราจะได้รักษาได้ทันก่อนจะมะเร็งจะลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ทำให้การรักษานั้นยากขึ้น

มะเร็งเต้านม

สาเหตุมะเร็งเต้านม

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับมะเร็งเต้านมกันก่อน มะเร็งเต้านมนั้นมีสาเหตุเกิดมาจากเซลล์มีการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ที่อยู่ภายในต่อมน้ำนมหรือในท่อน้ำนม ซึ่งเกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ และอาจจะแพร่กระจายไปตามทางเดินน้ำเหลือง จนไปสู่อวัยวะที่อยู่ในร่างกายส่วนอื่น ๆ ได้ และปัจจัยอีกอย่างหนึ่งคือพันธุกรรม แพทย์ประเมินว่า 5 – 10% ของมะเร็งเต้านมมีความเชื่อมโยงของการส่งต่อผ่านมาทางยีนพันธุกรรมของคนในครอบครัวที่อาจเคยเป็นโรคมะเร็งได้  

ฉะนั้นเราควรจะหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เพราะการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะแรก ๆ นั้น จะทำให้มีโอกาสในการประสบความสำเร็จในการรักษาสูง

มะเร็งเต้านม

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น สภาพแวดล้อม หรือพฤติกรรมของแต่ละบุคคล ที่จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น

  1. เพศ : ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชาย
  2. อายุ : อายุที่มากขึ้น ความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมก็ยิ่งสูงขึ้นเช่นกัน ยิ่งมีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีความเสี่ยงที่มากขึ้น
  3. เคยมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม : หากคุณเคยมีประวัติตรวจพบมะเร็งเต้านมในข้างหนึ่ง คุณก็มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่ง
  4. คนในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม : หากแม่ น้องสาว หรือลูกสาวของคุณ ตรวจพบว่าเป็นมะเร็งเต้านม การเป็นมะเร็งเต้านมของคุณก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
  5. ยีนทางพันธุกรรม : การกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น แต่สามารถตรวจสอบได้จากการตรวจเลือดหรือตรวจเนื้อเยื่อ
  6. การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน : การได้รับเอสโตรเจนเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
  7. การตั้งครรภ์และให้นมบุตร : การมีบุตรคนแรกตอนที่อายุมาก หรือ 30 ปีขึ้นไป ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
  8. การได้รับรังสี : หากคุณได้รับการรักษาด้วยรังสีที่หน้าอกของคุณในตอนเด็กหรือผู้ใหญ่ความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านมของคุณจะเพิ่มขึ้น
  9. การใช้ชีวิตประจำวัน : อาหารการกินความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ภาวะเครียดเป็นต้น

สาเหตุที่ของมะเร็งเต้านมอาจจะเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีผลทำให้การเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้ง่ายขึ้น เราก็ควรจะหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างหรือป้องกันโดยการหมั่นตรวจเช็คสุภาพร่างกายของเราอยู่เสมอ

มมะเร็งเต้านม

อาการ มะเร็งเต้านม

อาการของมะเร็งเต้านมโดยส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ หรืออาจจะมีบางส่วนเพียงเล็กน้อยที่ไปหาหมอเพราะมาอาการปวดที่เต้านม เราจึงต้องคอยสังเกตตัวเองเหมือนมีอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านม

  • คลำบริเวณเต้านมแล้วพบก้อนหนา ๆ หรือบริเวณใต้รักแร้
  • มีผื่น รอยแดง ขึ้นบริเวณเต้านม
  • ลักษณะเต้านมผิดรูปไปหรือหัวนมยุบตัวลง
  • มีเลือดไหลออกมาบริเวณเต้านม
  • มีอาการบริเวณเต้านมเช่น เจ็บหัวนม คันหัวนม เจ็บเต้านม

แต่ก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเต้านมอาจจะไม่ใช่มะเร็งเต้านมก็ได้ อย่างไรก็ตามเราควรที่จะไปหาแพทย์เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าเป็นก้อนเนื้อมะเร็งหรือไม่

อาการมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ระยะ

แพทย์จะมีการตรวจและบอกระยะของโรคมะเร็งเต้านม โดยมีตั้งแต่ ระยะที่ 0 – 4

ระยะแรกเริ่ม (0) : เซลล์ที่เริ่มมีการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมแต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ

ระยะที่ 1 : เป็นก้อนเนื้อที่ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่มีกการลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 2 : เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ที่ 2 – 5 เซนติเมตร และเริ่มมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียงหรือในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีการแพร่เข้าไปยังต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 3 : เนื้องอกมีขนาดถึง 5 เซนติเมตร และได้แพร่ไปยังอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงลุกลามเข้าไปยังต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 4 : มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กระดูก ตับ สมอง หรือปอด เป็นต้น

การรักษามะเร็งเต้านม

ในปัจจุบันการรักษามะเร็งเต้านมนั้นก็มีหลายหลากวิธีให้ผู้ป่วยเลือก แต่ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนเพื่อให้ประเมินโรคมะเร็ง และได้ตรวจเช็คสภาพร่างกายของผู้ป่วย จะได้หาวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยเพื่อให้ประสบผลสำเร็จสูงที่สุด

ตัวเลือกในการรักษา

  • การผ่าตัด
  • การฉายรังสี
  • เคมีบำบัด
  • การบำบัดทางชีวภาพหรือการบำบัดด้วยยา (ยาพุ่งเป้า)
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน
ตัวเลือกการรักษา มะเร็งเต้านม

แต่ล่าสุดมีการแนะนำทางเลือกใหม่ในการรักษามะเร็งที่ทางการแพทย์สหรัฐอเมริกาและในฝั่งยุโรปเลือกใช้นั้นก็คือ การรักษาด้วย “ภูมิคุ้มกันบำบัด”  การรักษาด้วยวิธีนี้มีความแพร่หลายมากในทางฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรป เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยและเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง โดยการใช้เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในตัวเรา ไปกำจัดเชื้อโรค แบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่าง ๆ รวมไปถึงเซลล์มะเร็ง

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ได้ผลที่ดีนั้น จะต้องเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วย “เบต้ากลูแคน” ซึ่งมีการวิจัยรองรับมากกว่า 140,000 ฉบับ ว่าช่วยเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาวแมคโครเฟจ เม็ดเลือดขาว NK Cell เม็ดเลือดขาว T Cell รวมทั้งเม็ดเลือดขาว CD4 และ CD8 ช่วยเสริมสร้างเกล็ดเลือด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เบต้ากลูแคนมีด้วยกันหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น เบต้า1,3(ได้จากสาหร่าย), เบต้า1,3/1,6(ได้จากยีสต์), เบต้า1,3/1,4(ได้จากข้าวโอ๊ต) ซึ่งชนิดที่ดีที่สุดจะเป็น เบต้ากลูแคนชนิด 1,3/1,6D ที่สกัดได้จากยีสต์ขนมปัง ซึ่งกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวได้มากถึง 400% ทำให้การกำจัดพวกเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส รวมถึงเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดและการฉายแสง ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประสิทธิภาพเบต้ากลูแคนแต่ละชนิด

ดังนั้นในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร “เบต้าซีไอ” จึงได้นำสารสกัดเบต้ากลูแคน 1,3/1,6D จากประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีความบริสุทธิ์สูงถึง 91% มากที่สุดในตลาด รวมทั้งใน เบต้าซีไอ ยังมีเฮสเพอริดิน ช่วยเพิ่มความสามารถในการกระตุ้นสร้างเม็ดลือดขาว เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง และปรับฮอร์โมนให้ทำงานเป็นปกติอีกด้วย อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ คลิ๊ก…

ดูแลสุขภาพด้วย เบต้าซีไอ “เม็ดเลือดขาวแข็งแรง คุณก็แข็งแรง”

ผลิตภัณฑ์เบต้าซีไอ สารสกัดจากธรรมชาติ
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
แฟนเพจ Facebook

Categories:

Tags:

No responses yet

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *